29
Aug
odini BLACK Ultimate Allocation | ตอน เผยความลับของกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด
ตอน เผยความลับของกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด
ทราบหรือไม่ว่ามีกองทุนรวมที่ทำผลตอบแทนได้ถึง 30% ซึ่งดีที่สุดในบรรดากองทุนรวมไทยทั้งหมด ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ หลังตลาดรุมเร้า กองทุนนั้นคือ WE-TENERGY/SCBCLEANA ที่ถือเป็นกลุ่ม High Beta แล้วค่า Beta คืออะไร? ใช้อย่างไรในโลกการลงทุน?
.
Beta คือค่าวัดความผันผวนของสินทรัพย์หนึ่ง ๆ กับสินทรัพย์หรือดัชนีอ้างอิง (เช่น หุ้นโลก) ได้ทั้งทิศทางและความไว โดยตัวเลขสามารถมีค่าเป็นบวก ลบ หรือ ศูนย์
.
การใช้ Beta สามารถนำมาช่วยปรับพอร์ตตามสภาวะตลาด ในที่นี้เราจะพาไปหาค่า Beta โดยใช้ผลตอบแทนของกองทุนรวมกับของสินทรัพย์อ้างอิงที่เป็นดัชนีหุ้นโลก MSCI ACWI ผลที่ได้แบ่งออกกว้าง ๆ เป็น 4 กลุ่ม
.
ราคากองทุนกลุ่มนี้มีความไวของการเปลี่ยนแปลงมากกว่าสินทรัพย์อ้างอิง และเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
นั่นคือราคากองทุนกลุ่มนี้จะปรับตัวขึ้นถ้าหุ้นโลกปรับขึ้น โดยจะเร่งตัวขึ้นเร็วและแรงกว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้าหุ้นโลกลง กองทุนกลุ่มนี้จะลงแรงกว่าเช่นกัน ดังนั้นจะสามารถใช้กลยุทธ์ลงทุนในกองทุนกลุ่มนี้ในช่วงเวลาที่หุ้นโลกเป็นขาขึ้น เพราะกองทุนสามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นโลกนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น WE-TENERGY/SCBCLEANA ที่ลงทุนในพลังงานสะอาด ที่มีค่า Beta อยู่ที่ราว 1.4 เท่า หรือแปลความได้ว่าโดยเฉลี่ยแล้ว
หากหุ้นโลก +1%
WE-TENERGY/SCBCLEANA +1.4%
หรือในทิศทางตรงกันข้าม
.
กองทุนกลุ่มนี้มักมีลักษณะการจัดพอร์ตคล้ายคลึงหรือเหมือนสินทรัพย์อ้างอิง ทำให้เคลื่อนไหวเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น กองทุนกลุ่มหุ้นโลก
กลยุทธ์ที่เกี่ยวกับกองทุนกลุ่มนี้ก็คือการลงทุนล้อไปกับสินทรัพย์อ้างอิงนั่นเอง
.
กองทุนกลุ่มนี้มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าสินทรัพย์อ้างอิง และยังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่นกองทุนกลุ่ม Old Infrastructure หรือ Traditional Healthcare ที่มีความเป็นกองทุนกลุ่ม Defensive
โดยกองทุนกลุ่มนี้มักนิยมลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวนและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เนื่องมาจากสามารถปกป้องการลดลงของเงินต้นควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนได้ด้วย
ยกตัวอย่างกองทุนเช่น TMBGINFRA ที่ลงทุนในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่มีค่า Beta ประมาณ 0.3 หรือแปลความได้ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว
หากหุ้นโลก -1%
TMBGINFRA -0.3%
หรือในทิศทางตรงกันข้าม
.
ราคาของกองทุนกลุ่มนี้ไม่สัมพันธ์กับสินทรัพย์อ้างอิง ตัวอย่างเช่นกองทุนตราสารหนี้ ด้วยความที่กองทุนกลุ่มดังกล่าวไม่สัมพันธ์กับหุ้นโลก ส่งผลให้กองทุนกลุ่มนี้จะถูกนำมาเป็นหลุมหลบภัยในยามที่ตลาดผันผวน เพื่อสร้างกระแสเงินสดสำหรับหาจังหวะลงทุนในอนาคต
ยกตัวอย่างกองทุนกลุ่มนี้เช่น K-CASH ที่ค่า Beta ใกล้เคียงกับ 0 หรือแปลความได้ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว
หากหุ้นโลก -1%
K-CASH +0%
หรือในทิศทางตรงกันข้าม
.
ค่าที่ติดลบหมายถึงถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงข้ามกับสินทรัพย์อ้างอิง ตัวอย่างสินทรัพย์กลุ่มนี้เช่น ทองคำ ที่ราคามักจะขึ้นเมื่อตลาดเต็มไปด้วยความกังวล สะท้อนถึงราคาหุ้นโลกที่ปรับลง
ดังนั้นกองทุนกลุ่มนี้จึงเป็นที่นิยมนำมาจัดพอร์ตเพื่อป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตรวม เพราะมีทิศทางการเคลื่อนที่ตรงข้ามกับสินทรัพย์อ้างอิง
.
เป็นการอิงการคำนวณข้อมูลจากอดีตและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และไม่ได้มีการพิจารณาปัจจัยด้านพื้นฐานใดของบริษัทไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการ หรือโอกาสการเติบโตในอนาคต อีกทั้งยังไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดจากตัวหลักทรัพย์เอง
.
odiniBLACK Ultimate Allocation คำนึงถึงกลยุทธ์ปรับพอร์ตจากค่า Beta เพื่อให้นักลงทุนไม่พลาดการลงทุนที่ดีที่สุดในแต่ละช่วง
นโยบายการลงทุนที่สามารถปรับระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา เพิ่มความยืดหยุ่นด้วยการทยอยเพิ่มหรือลดน้ําหนักการลงทุนให้เหมาะสม ดำเนินการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญคือมีการปรับพอร์ตอัตโนมัติ ทำให้ปรับเปลี่ยนสถานะการลงทุนเป็นไปได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้นักลงทุนไม่พลาดการลงทุนที่ดีที่สุดในแต่ละช่วง
หากสนใจเริ่มลงทุน คลิก odiniapp.co/3NZCMWQ
*ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต*
*การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน*
ที่มา: Morningstar Direct | หมายเหตุ: ข้อมูล ณ 18 ส.ค. 2022, คำนวณ Beta โดยใช้ข้อมูลของกองทุนหลักย้อนหลัง 1 ปี